ได้รับเชิญให้เป็นวิทยาการอบรม อบรมนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ก่อนสำเร็จการศึกษา
คุณกำพล ชโลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยจุลทรรศน์ จำกัด ได้รับเชิญให้เป็นวิทยาการอบรม อบรมนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 คณะสาธารณสุขศาตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
จัดการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง "เทคนิคการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ระบบดิจิตอล และการวัดขนาดเซลล์เพื่องานวิจัย"
กรมประมงร่วมกับ บริษัท ไทยจุลทรรศน์ จำกัด จัดการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ เรื่อง "เทคนิคการถ่ายภาพจากกล้องจุลทรรศน์ระบบดิจิตอล และการวัดขนาดเซลล์เพื่องานวิจัย"
ประวัติกล้องจุลทรรศน์
เดิมการศึกษาวัตถุที่มีขนาดเล็กมากใช้เพียงแว่นขยายและเลนส์อันเดียวส่องดู เช่นเดียวกับการใช้แว่นขยายส่องดูลายมือ ช่วงปี พ.ศ. 2133 แซคาเรียส แจนเซน ช่างทำแว่นชาวดัตช์ ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ ประกอบด้วยแว่นขยายสองอัน ต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอีได้สร้างแว่นขยายส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในปี พ.ศ. 2208 รอเบิร์ต ฮุกได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่มีลำกล้องรูปร่างสวยงาม ป้องกันการรบกวนจากแสงภายนอกได้ และไม่ต้องถือเลนส์ให้ซ้อนกัน เขาส่องดูไม้คอร์กที่ฝานบาง ๆ แล้วพบช่องเล็ก ๆ มากมาย เขาเรียกช่องเหล่านั้นว่าเซลล์ ซึ่งหมายถึงห้องว่าง ๆ หรือห้องขัง เซลล์ที่ฮุกเห็นเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว เหลือแต่ผนังเซลล์ของพืชซึ่งแข็งแรงกว่าเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ จึงทำให้คงรูปร่างอยู่ได้ ฮุกจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตั้งชื่อเซลล์
ชนิดของกล้องจุลทรรศน์
กล้องจุลทรรศน์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (optical microscopes) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopes) ชนิดที่พบได้มากที่สุด คือชนิดที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เป็นอุปกรณ์ใช้แสงอย่างหนึ่ง มีเลนส์อย่างน้อย 1 ชิ้น เพื่อทำการขยายภาพวัตถุที่วางในระนาบโฟกัสของเลนส์นั้น ๆ